ผลการวิจัย

 

ความหลากหลายของชนิดพรรณไม้
- จำนวนชนิดพันธุ์ไม้
จากการวางแปลง 40 X 40 เมตร สุ่มตัวอย่าง 23 แปลง พบพันธุ์ไม้ทั้งหมด 75 ชนิด 30 วงศ์ พรรณไม้ที่พบทั้งหมด 1,782 ต้น โดยมีต้นพันชาดเยอะที่สุดจำนวน 484 ต้น รองลงมาคือต้นเต็งจำนวน 272 ต้น และต้นแดงจำนวน 233 ต้น
- ความถี่ของการพบพรรณไม้
ความถี่ของการพบพรรณไม้แสดงถึงขึ้นกระจายอยู่ตามพื้นที่ของพรรณไม้แต่ละชนิดในป่า พบว่าพรรณไม้ที่มีค่าความถี่สูงที่สุดคือพันชาด 5.37 เปอร์เซ็นต์ ซึงพบว่ามีการกระจ่ายอยู่ทุกแปลงของพื้นที่ศึกษา รองลงมาคือต้นกอกกันและแดงมีความถี่เท่ากับ 4.91 เปอร์เซนต์
- ความหนาแน่นและความอุดมสมบูรณ์ของพรรณไม้
ค่าความอุดมสมบูรณ์เป็นค่าความหนาแน่นของพรรณไม้ชนิดต่างๆ เฉพาะในแปลงที่สุ่มตัวอย่างที่พบพรรณไม้นั้นๆส่วนค่าความหนาแน่นเป็นต้นไม้ชนิดนั้นเฉลี่ยต่อพื้นที่จำนวนต้นทั้งหมดในแปลงสุ่มตัวอย่าง 23 แปลง พรรณไม้ที่มีความหนาแน่นที่สุดคือพันชาดเท่ากับ 27.06 เปอร์เซนต์รองลงมาคือต้นเต็ง 15.26 เปอร์เซ็นต์และแดง 13.08 เปอร์เซ็นต์
- ความเด่นของพรรณไม้
ค่าความเด่นของพรรณไม้ยืนต้นคำนวณจากพื้นที่หน้าตัดของลำต้นต้นไม้ที่มีความเด่นสัมพัทธ์มากที่สุดคือพันชาดเท่ากับ 24.34 เปอร์เซ็นต์รองลงมาเป็นต้นเต็ง 12.36 เปอร์เซ็นต์และต้นแดง เท่ากับ 10.98 เปอร์เซ็นต์
- ดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยา
ดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยาเป็นค่าผลรวมของความถี่สัมพัทธ์ความหนาแน่นสัมพัทธ์และความเด่นสัมพัทธ์ แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลทางนิเวศวิทยาของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดในในป่าพบว่า พันชาดมีค่ามากที่สุดคือ 56.87 เปอร์เซ็นต์รองลงมาคือต้นเต็ง 32.30 เปอร์เซ็นต์ และ ต้นแดง 28.87 เปอร์เซ็นต์

เอกสารเพิ่มเติม

สรุปผลการวิจัย

 

 การประเมินความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ในป่า
จากการวางแปลงสุ่มตัวอย่างขนาด 40 × 40 ตารางเมตร จานวน  23  แปลง ในป่าเต็งรังพื้นที่สวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์   พบว่า มีจำนวนทั้งหมด  75  ชนิด  30  วงศ์ ความถี่ของการพบพรรณไม้สูงที่สุดคือพันชาด พรรณไม้ที่มีความหนาแน่นที่สุดคือพันชาดต้นไม้ที่มีความเด่นสัมพัทธ์มากที่สุดคือพันชาด
พันธุ์ไม้ที่พบมาก ได้แก่   พันชาด  เต็ง   แดง    และกอกกัน เป็นต้น  ค่าดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยา พบว่า ต้นพันชาดมีค่ามากกว่าพันธุ์ไม้ชนิดอื่น โดยมีดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยา เท่ากับ 56.87  เปอร์เซ็นต์  ของพันธุ์ไม้ทั้งหมดนั้นแสดงว่าพรรณไม้ชนิดนี้มีอิทธิพลต่อสังคมป่าเต็งรังสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์

ข้อเสนอแนะ

    • ควรมีการป้องกันรักษาป่าไม้บริเวณนี้ไม่ให้มีการลักลอบตัดฟันไม้
    • ยกเลิกการทำเส้นทางปั่นจักรยานที่ส่งผลต่อระบบนิเวศป่าเต็งรังสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์
    • ควรมีการฟื้นฟูสภาพป่าโดยการปลูกป่าเสริม โดยเลือกพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสม โดยเฉพาะพันธุ์ไม้ตระกูลถั่ว เช่น กางขี้มอด ประดู่ เป็นต้น รวมทั้งการปลูกพืชพื้นล่างเพื่อคลุมดิน เช่น กระเจียว ขิงป่า กล้วยไม้ดิน ว่านต่างๆ เป็นต้น