อุปกรณ์และวิธีการวิจัย

อุปกรณ์

วัสดุอุปกรณ์สำหรับงานวิจัยเพื่อศึกษาสังคมพืชในบริเวณสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1. แผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000
2. เข็มทิศ
3. เครื่องกำหนดค่าพิกัดบนพื้นโลก (GPS)
4. เชือกหมายระยะ
5. สายวัด
6. กล้องถ่ายรูป
7. กล้องส่องทางไกลแบบสองตา
8. ถุงพลาสติกสำหรับใส่ตัวอย่างพรรณไม้
9. ตารางบันทึกข้อมูล
10.ตลับเมตร


วิธีการวิจัย

การดำเนินการศึกษา ผู้วิจัยมีวิธีการศึกษาตามลำดับ ดังนี้
1. การเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลของสังคมพืชโดยใช้แปลงตัวอย่าง
1.1 การเก็บข้อมูลของสังคมพืชโดยใช้แปลงตัวอย่าง
1.1.1 วางแปลงตัวอย่างชั่วคราวขนาด 40 x 40  เมตร ในบริเวณสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์   จำนวนแปลงตัวอย่าง  23    แปลง ซึ่งแต่ละแปลงมีระยะห่างเท่า ๆ กัน อย่างเป็นระบบบันทึก ชนิดและจำนวนของพรรณไม้ยืนต้น ที่มีขนาดเส้นรอบวงความโตน้อยกว่า  30   เซนติเมตร และมีความสูงน้อยกว่า 1.30 เมตร
1.2 การวิเคราะห์ข้อมูลของสังคมพืชจากการวางแปลงตัวอย่างทำการวิเคราะห์หาการกระจาย ความหนาแน่น ความเด่น และดัชนีคุณค่าความสำคัญ(Importance Value Index, IVI ) การคำนวณหาค่าต่าง ๆ   ( ดอกรัก, 2542) มีวิธีการดังนี้

1.2.1 การวิเคราะห์การกระจาย โดยการหาค่าความถี่ของชนิดพันธุ์ที่พบในแปลง

1.2.2 หาความหนาแน่นของชนิดพันธุ์ไม้ที่พบในแปลงตัวอย่าง

1.2.3 การวิเคราะห์ความเด่น โดยการหาค่าความเด่นของชนิดพันธุ์ที่พบในแปลง

1.2.4 ดัชนีคุณค่าความสำคัญ (Importance Value Index, IVI ) เป็นค่าเชิงปริมาณที่แสดงให้เห็นภาพรวมของความสำคัญทางนิเวศของพืชชนิดนั้น ๆ ซึ่งหาได้จากค่าความถี่สัมพัทธ์ความหนาแน่นสัมพัทธ์ และความเด่นสัมพัทธ์ ผลรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งค่า IVI ของพืชแต่ละชนิดจะมีค่าตั้งแต่ 0-300  (นิวัติ, 2541) ค่า IVI หาได้จากสูตรดังนี้ IVI = ความถี่สัมพัทธ์ + ความหนาแน่นสัมพัทธ์ + ความเด่นสัมพัทธ์

2.   การนำเข้าข้อมูลและประมวลผลข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์