สวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ความเป็นมา

มหาวิทยาลัยขอนแก่นตั้งขึ้นในบริเวณที่เป็นป่าดั่งเดิมมาก่อน มีพื้นที่ประมาณ   5,600  ไร่ จึงมีพรรณไม้ยืนต้นหลากหลายชนิด  แต่การพัฒนาและความเจริญที่เข้ามามากขึ้นทำให้สภาพป่าถูกทำลาย พรรณไม้หลายชนิดมีจำนวนลดน้อยลง  จนปัจจุบันสภาพพื้นที่ป่าลดลงอย่างมาก ด้วยเหตุนี้การศึกษาและรู้จักพรรณไม้ยืนต้นโดยเฉพาะบริเวณสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์ จะช่วยส่งเสริมให้มีความรู้และความเข้าใจในการจำแนกพรรณไม้ยืนต้น เพื่อการอนุรักษ์และตระหนักถึงคุณค่าของพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้มีแนวคิดจัดทำโครงการสำรวจ ทำรหัสต้นไม้ ทำรหัสพิกัด เพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูลในพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานความหลากชนิดของพรรณไม้ยืนต้นให้ผู้ที่สนใจนำไปใช้ประโยชน์ ตลอดจนนําองค์ความรู้ที่ได้จัดทําฐานข้อมูลและพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติต่อไป.

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อให้ทราบชนิดไม้ยืนต้นและทรัพยากรอื่นๆ ที่สำคัญในพื้นที่ศึกษา
2. เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เกิดความรักและความหวงแหนในทรัพยากรป่าไม้
3. เพื่อเป็นโครงการนำร่องในการศึกษาสังคมพืชในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ให้นักศึกษาและผู้ที่สนใจทั่วไปทราบชนิดไม้ยืนต้นและทรัพยากรอื่นๆ ที่สำคัญในพื้นที่ศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มีแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติในมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพิ่มขึ้น
  • เป็นฐานข้อมูลพรรณไม้ในพื้นที่ศึกษา และเป็นทะเบียนพันธุกรรมพืชในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

เป้าหมาย

เพื่อร่วมสนองพระราชดำริ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ และใช้พื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ และอนุรักษ์ทรัพยากรไว้ให้ชนรุ่นหลังต่อไป

พื้นที่โครงการ : สวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

แปลงศึกษาพันธ์ไม้

แบบการเดินนับไม้ยืนต้นและติดรหัสต้นไม้